วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติของเรื่องอิเหนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เป็นวรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเชื่อว่า เรื่องดาหลังและเรื่องอิเหนาที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยรัชกาลที่  ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องดาหลังตลอด เรื่องและรัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์อิเหนาตลอดเรื่องเช่นเดียวกัน อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่  ๒ นี้ ได้รับคำยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ
                ละครรำ เป็นละครใน ซึ่งกำหนดชื่อเข้าคู่กับละครนอก แบ่งกันอย่างชัดเจนเมื่อต้นรัตนโกสินทร์นี้เอง เดิมมีแต่ละครพื้นเมืองของชาวบ้านที่เล่นกันอยู่นอกพระราชฐาน ใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ครั้นมีละครภายในพระราชฐานขึ้นมาจึงเรียกชื่อเป็นคู่กันว่าละครนอกและละครใน (คงมาจากคำว่าละครนอกพระราชฐาน กับละครนางในหรือละครข้างใน) ละครในดังกล่าวนี้กำหนดให้เล่นเพียง  เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลังและอิเหนา มุ่งหมายให้รักษาจารีตประเพณีของราชสำนัก ศิลปะการร่ายรำและท่าทาง เพลงที่ใช้และบทเจรจามีจังหวะนิ่มนวลไพเราะ เพื่อให้สมกับเป็นละครแบบฉบับ
                บ่อเกิดของเรื่องอิเหนานั้น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ได้ทรงวิจารณ์เค้ามูลไว้โดยละเอียด มีทั้งอิเหนาที่เป็นคนจริงคืออิเหนาในประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๑๕๖๒  นครดาฮา (ดาหา) ในชวามีราชาองค์หนึ่งชื่อ ไอรลังคะ ทรงสร้างความรุ่งเรืองให้แก่ชวาเป็นอันมาก มีราชธิดาชื่อ กิลีสุจี และมีโอรส  องค์ พระธิดานั้นพอเจริญวัยก็ได้ออกบวชเป็นชี เมื่อราชา ไอรลังคะจะสวรรคต ได้แบ่งอาณาเขตออกเป็นสองส่วน คือแคว้นดาหาและกุเรปัน ให้โอรสครองคนละแคว้น ต่อมาโอรสทั้งสองนั้น องค์หนึ่งมีพระโอรส อีกองค์หนึ่งมีธิดา องค์ที่เป็นชายนั้นคืออิเหนา ที่เป็นหญิงคือ บุษบา พระนางกิลีสุจีซึ่งบวชเป็นชีอยู่นั้น แนะนำให้ทายาทของสองนครนี้สมรสกันเพื่ออาณาจักรจะได้กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเช่นเดิม อิเหนาเป็นกษัตริย์ที่มาอานุภาพมากแต่วงศ์อิเหนาได้เริ่มเสื่อมเมื่อราว พ.ศ. ๑๗๖๔ อังรกะ ชิงราชสมบัติจากวงศ์อิเหนาได้ และตั้งราชธานีใหม่ชื่อ สิงหัสสาหรี (สังคัสซารี) ใน พ.ศ. ๑๘๓๖ กษัตริย์ที่สืบวงศ์จากราชาอังรกะได้ย้ายราชธานีไปตั้งที่มัชปาหิต (ใกล้เมืองสุราบายา) และสืบสันตติวงศ์ต่อมาจนถึงราว พ.ศ. ๒๐๐๐ จึงเริ่มเสื่อม ตกอยู่ในอำนาจชาวอินเดียนับถือศาสนาอิสลามที่อพยพเข้ามาอยู่ในชวา แล้วภายหลังกลับตกไปอยู่ในอำนาจโปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์ในที่สุด
                อิเหนากษัตริย์ชวาตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมาก มีพระชนมายุอยู่ก่อนสมัยสุโขทัยเกือบ ๔๐๐ ปี ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับกษัตริย์องค์นี้เล่าสืบต่อมาก็กลายเป็นนิทานนิยายออกไปทุกที     เช่นเดียวกับเรื่องพระร่วงของไทย    นิทานอิเหนาในชวาเรียกว่าปันหยี   เนื้อเรื่องก็แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น หิกะยัต ปันหยี สะมิรัง มีฉบับแปลเป็นภาษามลายู เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๕ ชื่อ ปันหยี อังเกรนี เขมรก็มีเรื่องอิเหนาเหมือนกัน เนื้อความคล้ายเรื่องอิเหนาฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่    ของไทย
                เรื่องอิเหนา ในชวาได้รับความนิยมยกย่องกันมาก เมื่อไทยนำมาสร้างเป็นบทละครก็ได้รับความนิยมอย่างสูง บทละครตั้งแต่ครั้งแรกกรุงเก่าใช้แสดงกันเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้กวีช่วยกันรวบรวมแต่งเติมเรื่องดาหลังและอิเหนาไว้ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป ดังที่ปรากฏในบทนำ คงเหลือสมบูรณ์อยู่เฉพาะเรื่องดาหลังหรืออิเหนาใหญ่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ มีความไพเราะจนได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรดังกล่าวมาแล้ว
ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้
อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง
      
สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์
แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ
นอกจากนี้ ยังมีบรรยายไว้ในปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ระบุถึงการนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเช่นกัน โดยเล่าว่ามีงานมหรสพที่เล่นเรื่องอิเหนา ดังนี้
ร้องเรื่องระเด่นโดย
      
บุษบาตุนาหงัน
พักพาคูหาบรรณ-
พตร่วมฤดีโลม ฯ
เนื้อเรื่องตรงกับอิเหนาเล็ก ที่ว่าถึงตอนลักบุษบาไปไว้ในถ้ำ ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่องอิเหนาใหญ่
เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า อิเหนา ปันหยี กรัต ปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครองนิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี ตามสมุดภาพ มี ๒๐ ตอน ดังต่อไปนี้
๑.อิเหนาพบจินตะหราวาตี
๒.อิเหนารบกับท้าวบุศสิหนา
๓.อิเหนาได้นางมาหยารัศมีและนางสการะวาตี
๔.ช่างเขียนลอบวาดรูปบุษบา
๕.วิหยาสะกำสลบบนหลังม้า
๖.ท้าวกะหมังกุหนิงเคลื่อนทัพ
๗.อิเหนาจากจินตะหรา
๘.อิเหนายกทัพจากหมันยา
๙.อิเหนารบท้าวกระหมังกุหนิง
๑๐.อิเหนาพบบุษบา
๑๑.อิเหนาไม่ยอมกลับเมือง
๑๒.อิเหนาทำเหตุ ในวิหารพระปฏิมา
๑๓.อิเหนาแต่งถ้ำ
๑๔.อิเหนาเผาเมือง
๑๕.อิเหนาได้บุษบา
๑๖.อิเหนาแก้สงสัย
๑๗.ลมหอบ
๑๘.อิเหนา มะงุมมะหงาหรา เข้ามะละกา
๑๙.อิเหนาบวช
๒๐.อิเหนาพบบุษบา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น