วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วัตถุประสงค์ของการแต่ง

อิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่  นี้ มีคำกลอนปรากฏอยู่ท้ายเรื่อง แสดงวัตถุประสงค์ของการแต่งว่า
                                       อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง                        สำหรับงานการฉลองกองกุศล
                                ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์                                 แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป
                                หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น                          ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่
                                เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้                                      บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ตามเค้าเรื่องเดิมที่มีมาจากกรุงเก่า
และรัชกาลที่  ทรงให้รวบรวมและแต่งเติมไว้ ทรงแก้ไขถ้อยคำให้เข้ากับท่ารำและเปลี่ยนวิธีดำเนินเรื่องไปจากเดิมเพื่อให้เนื้อเรื่องกระชับและสมเหตุสมผล ทั้งยังนำมาเล่นละครได้ไม่ยืดยาวจนเกินไป
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์รพินิตทรงวิจารณ์ชมเชยไว้ว่า “ทรงดัดแปลงร้อยกรองโดยเฉพาะให้เป็นท่วงทีงดงามดี เหมาะแก่การเล่นละครในเชิงรำก็ให้ท่าทีจะรำได้แปลก  งาม ๆ ในเชิงจัดคุมหมู่ละครก็ให้ท่าทีให้เป็นภาพงาม ในเชิงร้องก็ให้ท่าทีจะจัดสู่ทางทำนองไพเราะเสนาะโสต กลอนก็สละสลวยเพราะพริ้งไม่มีที่เปรียบ อาจเล่นละครให้สมบูรณ์ครบองค์  ของละครก็ได้คือ ตัวละครงาม รำงาม   ร้องเพราะ    พิณพาทย์เพราะ   กลอนเพราะ”  
อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่  นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นต้นฉบับสำหรับพระนครด้วย เพราะอิเหนาฉบับก่อน ๆ   ไม่สมบูรณ์   แม้ในฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่    ที่รวบรวมไว้อย่างสมบูรณ์ก็ยังขาดความประณีต เพราะรัชกาลที่  ทรงมีพระราชประสงค์เพียงซ่อมแซมบทของเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
คำประพันธ์ที่ใช้ในการแต่งเรื่องอิเหนา คือ กลอนบทละคร

ภาพที่ 2.1 แผนผังกลอนบทละคร
                อธิบายผังโครงสร้าง
               ๑) แสดงผังโครงสร้างกลอนบทละคร ความยาว ๒ บท
               ๒) กลอน ๑ บท มี ๒ บาท คือ บาทเอกและบาทโท
            ๓) กลอน ๑ บาท มี ๒ วรรคคือบาทเอกประกอบด้วย วรรค สดับ และวรรค รับ บาทโทประกอบด้วย วรรค รอง และวรรค ส่ง
               ๔) กลอน ๒ วรรค เรียกว่า ๑ คำกลอน
               ๕) เส้นโยงแสดงจุดสัมผัสนอก เป็นกฎบังคับต้องมี สำหรับกลอนวรรค รับ และ ส่ง จะเลือกสัมผัสตรงคำที่ ๒,๓ หรือ ๕ ก็ได้ ในกลอนบทละครนิยมสัมผัสตรงคำที่ ๒ และ ๕ มาก สำหรับจุดสัมผัสใน โปรดดูคำอธิบาย ที่กลอนสุภาพ
               ๖) กลอนยาว ๒ บทขึ้นไป ต้องเชื่อมสัมผัสท้ายวรรค ส่ง ไปยังคำท้ายวรรค รับ ของบท ถัดไปเสมอ
               กลอนบทละคร เป็นกลอนสุภาพประเภทหนึ่งจัดอยู่ในหมวดกลอนขับร้อง เช่นเดียวกับกลอนดอกสร้อย สักวา กลอนเสภา และเพลงไทยเดิม
วัตถุประสงค์ในการแต่งกลอนบทละคร เพื่อนำไปแสดงละครร้องและรำ ซึ่งในอดีตถือเป็นการแสดงชั้นสูงที่มีเฉพาะในรั้วในวังเท่านั้นลักษณะข้อบังคับ               
๑.กลอนแต่ละวรรค มีจำนวนคำระหว่าง ๗ ๘ คำ
๒. การสัมผัสในจะมีทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระเป็นคู่ ๆ ในแต่ละวรรค ทำให้เกิดเสียงเสนาะขึ้น เช่น
ว่าพลางโอบอุ้มอรทัย
      
ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม
เอนองค์ลงแอบแนบน้อง
เชยปรางพลางประคองสองสม
คลึงเคล้าเย้ายวนสำรวลรมย์
      
เกลียวกลมสมสวาทไม่คลาดคลาย
กรกอดประทับแล้วรับขวัญ
อย่าตระหนกอกสั่นนะโฉมฉาย
ฤดีดาลซ่านจับเนตรพราย
      
ดังสายสุนีวาบปลาบตา
นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย นักปราชญ์ราชบัณฑิตของไทยก็ได้แต่งเรื่องอิเหนาขึ้นมาหลายสำนวนด้วยกัน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก และน่าแปลกใจที่พบว่ามีอิเหนาในภาษาไทยกว่าสิบสำนวน ดังนี้
๑.     บทละครเรื่องอิเหนาครั้งกรุงเก่า. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้มาจากเมืองนครศรีธรรมราช มีอยู่ตอนเดียว เข้าใจว่าเป็นสำนวนครั้งกรุงเก่า
๒.   อิเหนาคำฉันท์. งานนิพนธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งในสมัยธนบุรี จับตอนอิเหนาลักบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำ
๓.   บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
๔.   บทละครเรื่องดาหลัง. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
๕.   บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
๖.   บทมโหรีเรื่องอิเหนา. ของเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง) ในรัชกาลที่ 2
๗.   นิราศอิเหนา. ของสุนทรภู่ ตอนลมหอบ
๘.   บทสักวาเรื่องอิเหนา. แต่งในสมัยรัชกาลที่ 3
๙.   อิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนอุณากรรณ
๑๐.อิเหนาคำฉันท์ พระนิพนธ์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในรัชกาลที่ 4 ตอนเข้าห้องจินตะหรา
๑๑.บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ รวม 68 บท
๑๒.บทละครพูดเรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตอน ศึกกระหมังกุหนิง
๑๓.บทละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตอนใช้บน
๑๔.บทสักวาเรื่องอิเหนา เล่นถวายในรัชกาลที่ 5 ตอนเสี่ยงเทียน ตอนชนไก่ และตอนสึกชี
๑๕.หิกะยัต ปันหยี สมิรัง. พระนิพนธ์แปล ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามลายู
๑๖.อิเหนาฉบับอารีนครา. แปลจากอิเหนาชวา ผู้แต่งชื่ออารีนครา ขุนนิกรการประกิจ เป็นผู้แปล
๑๗.ปันหยี สะมิหรัง คำกลอน. น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร ประพันธ์จากเรื่อง หิกะยัต ปันหยี สมิรัง
๑๘.เล่าเรื่องอิเหนา รศ. วิเชียร เกษประทุม
อย่างไรก็ตาม เรื่องอิเหนาเป็นที่นิยมกันมากกว่าเรื่องดาหลัง เนื่องจากเรื่องดาหลังมีเนื้อเรื่องที่ซ้ำซ้อน และสับสนมากทีเดียว แต่แม้จะเป็นเรื่องจากชวา การบรรยายบ้านเมืองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนเป็นฉากของไทยทั้งสิ้น และนับว่าน่ายินดี ที่มีการนำอิเหนาฉบับของชวามาแปลให้ชาวไทยได้รู้จักและเปรียบเทียบกับอิเหนาฉบับดั้งเดิมของไทย
นิทานปันหยี หรือเรื่องอิเหนานับเป็นวรรณคดีต่างประเทศอีกเรื่องหนึ่งที่มีคำศัพท์ชวาจำนวนไม่น้อย เช่น บุหงา บุหลัน บุหรง ลางิต ตุนาหงัน มะงุมมะงาหรา ฯลฯ

1 ความคิดเห็น: