วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติของเรื่องอิเหนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เป็นวรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเชื่อว่า เรื่องดาหลังและเรื่องอิเหนาที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยรัชกาลที่  ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องดาหลังตลอด เรื่องและรัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์อิเหนาตลอดเรื่องเช่นเดียวกัน อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่  ๒ นี้ ได้รับคำยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ
                ละครรำ เป็นละครใน ซึ่งกำหนดชื่อเข้าคู่กับละครนอก แบ่งกันอย่างชัดเจนเมื่อต้นรัตนโกสินทร์นี้เอง เดิมมีแต่ละครพื้นเมืองของชาวบ้านที่เล่นกันอยู่นอกพระราชฐาน ใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ครั้นมีละครภายในพระราชฐานขึ้นมาจึงเรียกชื่อเป็นคู่กันว่าละครนอกและละครใน (คงมาจากคำว่าละครนอกพระราชฐาน กับละครนางในหรือละครข้างใน) ละครในดังกล่าวนี้กำหนดให้เล่นเพียง  เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลังและอิเหนา มุ่งหมายให้รักษาจารีตประเพณีของราชสำนัก ศิลปะการร่ายรำและท่าทาง เพลงที่ใช้และบทเจรจามีจังหวะนิ่มนวลไพเราะ เพื่อให้สมกับเป็นละครแบบฉบับ
                บ่อเกิดของเรื่องอิเหนานั้น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ได้ทรงวิจารณ์เค้ามูลไว้โดยละเอียด มีทั้งอิเหนาที่เป็นคนจริงคืออิเหนาในประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๑๕๖๒  นครดาฮา (ดาหา) ในชวามีราชาองค์หนึ่งชื่อ ไอรลังคะ ทรงสร้างความรุ่งเรืองให้แก่ชวาเป็นอันมาก มีราชธิดาชื่อ กิลีสุจี และมีโอรส  องค์ พระธิดานั้นพอเจริญวัยก็ได้ออกบวชเป็นชี เมื่อราชา ไอรลังคะจะสวรรคต ได้แบ่งอาณาเขตออกเป็นสองส่วน คือแคว้นดาหาและกุเรปัน ให้โอรสครองคนละแคว้น ต่อมาโอรสทั้งสองนั้น องค์หนึ่งมีพระโอรส อีกองค์หนึ่งมีธิดา องค์ที่เป็นชายนั้นคืออิเหนา ที่เป็นหญิงคือ บุษบา พระนางกิลีสุจีซึ่งบวชเป็นชีอยู่นั้น แนะนำให้ทายาทของสองนครนี้สมรสกันเพื่ออาณาจักรจะได้กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเช่นเดิม อิเหนาเป็นกษัตริย์ที่มาอานุภาพมากแต่วงศ์อิเหนาได้เริ่มเสื่อมเมื่อราว พ.ศ. ๑๗๖๔ อังรกะ ชิงราชสมบัติจากวงศ์อิเหนาได้ และตั้งราชธานีใหม่ชื่อ สิงหัสสาหรี (สังคัสซารี) ใน พ.ศ. ๑๘๓๖ กษัตริย์ที่สืบวงศ์จากราชาอังรกะได้ย้ายราชธานีไปตั้งที่มัชปาหิต (ใกล้เมืองสุราบายา) และสืบสันตติวงศ์ต่อมาจนถึงราว พ.ศ. ๒๐๐๐ จึงเริ่มเสื่อม ตกอยู่ในอำนาจชาวอินเดียนับถือศาสนาอิสลามที่อพยพเข้ามาอยู่ในชวา แล้วภายหลังกลับตกไปอยู่ในอำนาจโปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์ในที่สุด
                อิเหนากษัตริย์ชวาตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมาก มีพระชนมายุอยู่ก่อนสมัยสุโขทัยเกือบ ๔๐๐ ปี ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับกษัตริย์องค์นี้เล่าสืบต่อมาก็กลายเป็นนิทานนิยายออกไปทุกที     เช่นเดียวกับเรื่องพระร่วงของไทย    นิทานอิเหนาในชวาเรียกว่าปันหยี   เนื้อเรื่องก็แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น หิกะยัต ปันหยี สะมิรัง มีฉบับแปลเป็นภาษามลายู เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๕ ชื่อ ปันหยี อังเกรนี เขมรก็มีเรื่องอิเหนาเหมือนกัน เนื้อความคล้ายเรื่องอิเหนาฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่    ของไทย
                เรื่องอิเหนา ในชวาได้รับความนิยมยกย่องกันมาก เมื่อไทยนำมาสร้างเป็นบทละครก็ได้รับความนิยมอย่างสูง บทละครตั้งแต่ครั้งแรกกรุงเก่าใช้แสดงกันเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้กวีช่วยกันรวบรวมแต่งเติมเรื่องดาหลังและอิเหนาไว้ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป ดังที่ปรากฏในบทนำ คงเหลือสมบูรณ์อยู่เฉพาะเรื่องดาหลังหรืออิเหนาใหญ่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ มีความไพเราะจนได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรดังกล่าวมาแล้ว
ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้
อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง
      
สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์
แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ
นอกจากนี้ ยังมีบรรยายไว้ในปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ระบุถึงการนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเช่นกัน โดยเล่าว่ามีงานมหรสพที่เล่นเรื่องอิเหนา ดังนี้
ร้องเรื่องระเด่นโดย
      
บุษบาตุนาหงัน
พักพาคูหาบรรณ-
พตร่วมฤดีโลม ฯ
เนื้อเรื่องตรงกับอิเหนาเล็ก ที่ว่าถึงตอนลักบุษบาไปไว้ในถ้ำ ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่องอิเหนาใหญ่
เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า อิเหนา ปันหยี กรัต ปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครองนิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี ตามสมุดภาพ มี ๒๐ ตอน ดังต่อไปนี้
๑.อิเหนาพบจินตะหราวาตี
๒.อิเหนารบกับท้าวบุศสิหนา
๓.อิเหนาได้นางมาหยารัศมีและนางสการะวาตี
๔.ช่างเขียนลอบวาดรูปบุษบา
๕.วิหยาสะกำสลบบนหลังม้า
๖.ท้าวกะหมังกุหนิงเคลื่อนทัพ
๗.อิเหนาจากจินตะหรา
๘.อิเหนายกทัพจากหมันยา
๙.อิเหนารบท้าวกระหมังกุหนิง
๑๐.อิเหนาพบบุษบา
๑๑.อิเหนาไม่ยอมกลับเมือง
๑๒.อิเหนาทำเหตุ ในวิหารพระปฏิมา
๑๓.อิเหนาแต่งถ้ำ
๑๔.อิเหนาเผาเมือง
๑๕.อิเหนาได้บุษบา
๑๖.อิเหนาแก้สงสัย
๑๗.ลมหอบ
๑๘.อิเหนา มะงุมมะหงาหรา เข้ามะละกา
๑๙.อิเหนาบวช
๒๐.อิเหนาพบบุษบา

วัตถุประสงค์ของการแต่ง

อิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่  นี้ มีคำกลอนปรากฏอยู่ท้ายเรื่อง แสดงวัตถุประสงค์ของการแต่งว่า
                                       อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง                        สำหรับงานการฉลองกองกุศล
                                ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์                                 แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป
                                หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น                          ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่
                                เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้                                      บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ตามเค้าเรื่องเดิมที่มีมาจากกรุงเก่า
และรัชกาลที่  ทรงให้รวบรวมและแต่งเติมไว้ ทรงแก้ไขถ้อยคำให้เข้ากับท่ารำและเปลี่ยนวิธีดำเนินเรื่องไปจากเดิมเพื่อให้เนื้อเรื่องกระชับและสมเหตุสมผล ทั้งยังนำมาเล่นละครได้ไม่ยืดยาวจนเกินไป
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์รพินิตทรงวิจารณ์ชมเชยไว้ว่า “ทรงดัดแปลงร้อยกรองโดยเฉพาะให้เป็นท่วงทีงดงามดี เหมาะแก่การเล่นละครในเชิงรำก็ให้ท่าทีจะรำได้แปลก  งาม ๆ ในเชิงจัดคุมหมู่ละครก็ให้ท่าทีให้เป็นภาพงาม ในเชิงร้องก็ให้ท่าทีจะจัดสู่ทางทำนองไพเราะเสนาะโสต กลอนก็สละสลวยเพราะพริ้งไม่มีที่เปรียบ อาจเล่นละครให้สมบูรณ์ครบองค์  ของละครก็ได้คือ ตัวละครงาม รำงาม   ร้องเพราะ    พิณพาทย์เพราะ   กลอนเพราะ”  
อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่  นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นต้นฉบับสำหรับพระนครด้วย เพราะอิเหนาฉบับก่อน ๆ   ไม่สมบูรณ์   แม้ในฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่    ที่รวบรวมไว้อย่างสมบูรณ์ก็ยังขาดความประณีต เพราะรัชกาลที่  ทรงมีพระราชประสงค์เพียงซ่อมแซมบทของเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
คำประพันธ์ที่ใช้ในการแต่งเรื่องอิเหนา คือ กลอนบทละคร

ภาพที่ 2.1 แผนผังกลอนบทละคร
                อธิบายผังโครงสร้าง
               ๑) แสดงผังโครงสร้างกลอนบทละคร ความยาว ๒ บท
               ๒) กลอน ๑ บท มี ๒ บาท คือ บาทเอกและบาทโท
            ๓) กลอน ๑ บาท มี ๒ วรรคคือบาทเอกประกอบด้วย วรรค สดับ และวรรค รับ บาทโทประกอบด้วย วรรค รอง และวรรค ส่ง
               ๔) กลอน ๒ วรรค เรียกว่า ๑ คำกลอน
               ๕) เส้นโยงแสดงจุดสัมผัสนอก เป็นกฎบังคับต้องมี สำหรับกลอนวรรค รับ และ ส่ง จะเลือกสัมผัสตรงคำที่ ๒,๓ หรือ ๕ ก็ได้ ในกลอนบทละครนิยมสัมผัสตรงคำที่ ๒ และ ๕ มาก สำหรับจุดสัมผัสใน โปรดดูคำอธิบาย ที่กลอนสุภาพ
               ๖) กลอนยาว ๒ บทขึ้นไป ต้องเชื่อมสัมผัสท้ายวรรค ส่ง ไปยังคำท้ายวรรค รับ ของบท ถัดไปเสมอ
               กลอนบทละคร เป็นกลอนสุภาพประเภทหนึ่งจัดอยู่ในหมวดกลอนขับร้อง เช่นเดียวกับกลอนดอกสร้อย สักวา กลอนเสภา และเพลงไทยเดิม
วัตถุประสงค์ในการแต่งกลอนบทละคร เพื่อนำไปแสดงละครร้องและรำ ซึ่งในอดีตถือเป็นการแสดงชั้นสูงที่มีเฉพาะในรั้วในวังเท่านั้นลักษณะข้อบังคับ               
๑.กลอนแต่ละวรรค มีจำนวนคำระหว่าง ๗ ๘ คำ
๒. การสัมผัสในจะมีทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระเป็นคู่ ๆ ในแต่ละวรรค ทำให้เกิดเสียงเสนาะขึ้น เช่น
ว่าพลางโอบอุ้มอรทัย
      
ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม
เอนองค์ลงแอบแนบน้อง
เชยปรางพลางประคองสองสม
คลึงเคล้าเย้ายวนสำรวลรมย์
      
เกลียวกลมสมสวาทไม่คลาดคลาย
กรกอดประทับแล้วรับขวัญ
อย่าตระหนกอกสั่นนะโฉมฉาย
ฤดีดาลซ่านจับเนตรพราย
      
ดังสายสุนีวาบปลาบตา
นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย นักปราชญ์ราชบัณฑิตของไทยก็ได้แต่งเรื่องอิเหนาขึ้นมาหลายสำนวนด้วยกัน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก และน่าแปลกใจที่พบว่ามีอิเหนาในภาษาไทยกว่าสิบสำนวน ดังนี้
๑.     บทละครเรื่องอิเหนาครั้งกรุงเก่า. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้มาจากเมืองนครศรีธรรมราช มีอยู่ตอนเดียว เข้าใจว่าเป็นสำนวนครั้งกรุงเก่า
๒.   อิเหนาคำฉันท์. งานนิพนธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งในสมัยธนบุรี จับตอนอิเหนาลักบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำ
๓.   บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
๔.   บทละครเรื่องดาหลัง. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
๕.   บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
๖.   บทมโหรีเรื่องอิเหนา. ของเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง) ในรัชกาลที่ 2
๗.   นิราศอิเหนา. ของสุนทรภู่ ตอนลมหอบ
๘.   บทสักวาเรื่องอิเหนา. แต่งในสมัยรัชกาลที่ 3
๙.   อิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนอุณากรรณ
๑๐.อิเหนาคำฉันท์ พระนิพนธ์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในรัชกาลที่ 4 ตอนเข้าห้องจินตะหรา
๑๑.บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ รวม 68 บท
๑๒.บทละครพูดเรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตอน ศึกกระหมังกุหนิง
๑๓.บทละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตอนใช้บน
๑๔.บทสักวาเรื่องอิเหนา เล่นถวายในรัชกาลที่ 5 ตอนเสี่ยงเทียน ตอนชนไก่ และตอนสึกชี
๑๕.หิกะยัต ปันหยี สมิรัง. พระนิพนธ์แปล ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามลายู
๑๖.อิเหนาฉบับอารีนครา. แปลจากอิเหนาชวา ผู้แต่งชื่ออารีนครา ขุนนิกรการประกิจ เป็นผู้แปล
๑๗.ปันหยี สะมิหรัง คำกลอน. น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร ประพันธ์จากเรื่อง หิกะยัต ปันหยี สมิรัง
๑๘.เล่าเรื่องอิเหนา รศ. วิเชียร เกษประทุม
อย่างไรก็ตาม เรื่องอิเหนาเป็นที่นิยมกันมากกว่าเรื่องดาหลัง เนื่องจากเรื่องดาหลังมีเนื้อเรื่องที่ซ้ำซ้อน และสับสนมากทีเดียว แต่แม้จะเป็นเรื่องจากชวา การบรรยายบ้านเมืองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนเป็นฉากของไทยทั้งสิ้น และนับว่าน่ายินดี ที่มีการนำอิเหนาฉบับของชวามาแปลให้ชาวไทยได้รู้จักและเปรียบเทียบกับอิเหนาฉบับดั้งเดิมของไทย
นิทานปันหยี หรือเรื่องอิเหนานับเป็นวรรณคดีต่างประเทศอีกเรื่องหนึ่งที่มีคำศัพท์ชวาจำนวนไม่น้อย เช่น บุหงา บุหลัน บุหรง ลางิต ตุนาหงัน มะงุมมะงาหรา ฯลฯ

ตัวละครเรื่องอิเหนา

ภาพที่ 2.2 อิเหนา
2.3.1 อิเหนา    อิเหนาหรือระเด่นมนตรี มีชื่อว่า “ หยังหยังหนึ่งหรัดอินดราอุดากันสาหรีปาติอิเหนาเองหยังตาหลาเมาะตาริยะกัดดังสุรศรี ดาหยังอริราชไพรี เองกะนะกะหรีกุเรปัน ” เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีนิหลาอระดา อิเหนาเป็นชายรูปงาม มีเสน่ห์มีนิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ อิเหนามีมเหสี ๑๐ องค์ ได้แก่
-            จินตะหราวาตี  เป็น  ประไหมสุหรีฝ่ายขวา       - บุษบาหนึ่งหรัด  เป็น ประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
-            บุษบาวิลิศ  เป็น  มะโตฝ่ายขวา                          -  บุษบากันจะหนา  เป็น  มะโตฝ่ายซ้าย
-            ระหนาระกะติกา  เป็น  ลิกูฝ่ายขวา                    -  อรสา  เป็น  ลิกูฝ่ายขวา
-            สะการะวาตี  เป็น  มะเดหวี่ฝ่ายขวา                   -  มาหยารัศมี  เป็น  มะเดหวี่ฝ่ายซ้าย
-            สุหรันกันจะสาหรี่  เป็น  เหมาหลาหงีฝ่ายขวา   -  หงยาหยา  เป็น  เหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย
               รอบคอบ  มองการณ์ไกล  ตอนที่สังคามาระตารบกับวิหยาสะกำ  อิเหนาได้เตือน สังคามาระตาว่าไม่ชำนาญกระบี่  อย่าลงจากหลังม้า  เพราะเพลงทวนนั้นชำนาญอยู่แล้วจะเอาชนะได้ง่ายกว่า
                      “ เมื่อนั้น                                   ระเด่นมนตรีใจหาญ
         จึงตอบอนุชาชัยชาญ                              เจ้าจะต้านต่อฤทธิ์ก็ตามใจ
         แต่อย่าลงจากพาชี                                  เพลงกระบี่ยังหาชำนาญไม่
         เพลงทวนสันทัดจัดเจนใจ                      เห็นจะมีชัยแก่ไพรี ”
               มีอารมณ์ละเอียดอ่อน  เมื่อจากสามนางมาเห็นสิ่งใดก็คิดถึงนางทั้งสาม  คำประพันธ์ความตอนนี้มีความไพเราะมาก
                     “ ว่าพลางทางชมคณานก           โผนผกจับไม้อึงมี่
         เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                          เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
         นางนวลจับนางนวลนอน                      เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
         จากพรากจับจากจำนรรจา                      เหมือนจากนางสการะวาตี ”
ภาพที่ 2.3 นางบุษบาหนึ่งหรัด   
               2.3.2  นางบุษบาหนึ่งหรัด   เป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา
      
         บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่นนอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
       
        นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
ภาพที่ 2.4 จินตะหราวาตี  
2.3.3 จินตะหราวาตี  เป็นธิดาของระตูหมันหยากับประไหมสุหรีชื่อสุหรีจินดาส่าหรี แห่งเมืองหมันหยา รูปโฉมงดงาม มีนิสัยเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเองแสนงอน ช่างพูดประชดประชัน บางครั้งก็ก้าวร้าวหยาบคาย จนแม้แต่อิเหนาเองยังนึกรำคาญใจ ทั้งๆที่ได้พบนางครั้งแรกก็หลงรัก จนไม่ยอมกลับกรุงกุเรปันและปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบาอย่างสิ้นเชิง ครั้งอิเหนาได้รับคำสั่งจากท้าวกุเรปันให้ไปช่วยทำศึกที่เมืองดาหา ทำให้นางไม่ได้พบอิเหนาอีกเลย จวบจนเวลาผ่านไปนานหลายปี ท้าวกุเรปันจะจัดพิธีแต่งงานให้อิเหนา จึงทรงมีสาส์นมาถึงระตูมันหยาให้พาจินตะหราไปเขาพิธีด้วยในตำแหน่ง ประไหมสุหรีฝ่ายขวา
2.3.4 ท้าวกุเรปัน  เป็นกษัตริย์ครองกรุงกุเรปัน มีมเหสี ๕ องค์ ตามประเพณี มีประไหมสุหรีชื่อนิหลาอระตา    ท้าวกุเรปัน มีโอรสองค์แรกกับลิกูชื่อ กะหรัดตะปาตี และมีโอรสธิดากับประไหมสุหรีคือ อิเหนาและวิยะดา  ท้าวกุเรปันมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก ๓ องค์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ของเมืองต่างๆ  คือ ท้าวดาหา  ท้าวกาหลัง  และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปัน ทรงหยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีของวงอสัญแดหวา จึงไม่พอใจมาก ที่อิเหนาไปมีความสัมพันธ์กับจินตะหรา
               ถือยศศักดิ์ไม่ไว้หน้าใคร  ไม่เกรงใจใคร  เช่น  ในราชสาส์นถึงระตูหมันหยา  กล่าวตำหนิระตูหมันหยาอย่างไม่ไว้หน้าว่า  เป็นใจให้จินตะหราแย่งคู่หมั้นบุษบา  สอนลูกให้ยั่วยวนอิเหนา  เป็นต้นเหตุให้บุษบาร้างคู่ตุนาหงัน
                  “ ในลักษณ์อักษรสารา               ว่าระตูหมันหยาเป็นผู้ใหญ่
       มีราชธิดายาใจ                                        แกล้งให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย
      จนลูกเราร้างคู่ตุนาหงัน                           ไปหลงรักผูกพันมั่นหมาย
      จะให้ชิงผัวเขาเอาเด็ดดาย                         ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน
      บัดนี้ศึกประชิดติดดาหา                            กิจจาลือแจ้งทุกแห่งหน
      เสียงงานการวิวาห์จราจล                          ต่างคนต่างข้องหมองใจ
      การสงครามครั้งนี้มีไปช่วย                       ยังเห็นชอบด้วยหรือไฉน
      จะตัดวงศ์ตัดญาติให้ขาดไป                       ก็ตามแต่น้ำใจจะเห็นดี ”
               ในพระราชสาส์นของท้าวกุเรปันถึงอิเหนาได้ยกความผิดให้จินตะหรา  จึงมีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ  แต่ไม่มีเมตตา  ถือยศศักดิ์  และที่ต้องช่วยดาหานั้น  เพราะถ้าดาหาแพ้หมายถึงกษัตริย์วงศ์เทวาพ่ายแพ้ด้วย  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอายอย่างยิ่ง
                  “ ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว      แต่เขาก็รู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่
       อันองค์ท้าวดาหาธิบดี                          นั้นมิใช่อาหรือว่าไร
       มาตรแม้นเสียเมืองดาหา                      จะพลอยอายขายหน้าหรือหาไม่”
2.3.5 ท้าวดาหา   กษัตริย์ครองกรุงดาหา มีมเหสี ๕ องค์  ประไหมสุหรีชื่อ ดาหราวาตี ท้าวดาหามีโอรสธิดากับประไหมสุหรีคือบุษบาและสียะตรา ท้าวดาหาเป็นผู้มีใจยุติธรรม เพราะทรงยินยอมให้จินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา ซึ่งใหญ่กว่าบุษบาที่เป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา
               หยิ่งในศักดิ์สรี  ใจร้อน  เช่น  ตัดสินใจรับศึกกะหมังกุหนิงโดยไม่สนใจว่าจะมีใครมาช่วยหรือไม่  ดังคำประพันธ์
                   “ คิดพลางทางสั่งเสนาใน          เร่งให้เกณฑ์คนขึ้นหน้าที่
       รักษามั่นไว้ในบุรี                                  จะดูทีข้าศึกซึ่งยกมา
       อนึ่งจะคอยท่าม้าใช้                               ที่ให้ไปแจ้งเหตุพระเชษฐา
       กับสองศรีราชอนุชา                               ยังจะมาช่วยหรือประการใด
       แม้จะเคืองขัดตัดรอน                             ทั้งสามพระนครหาช่วยไม่
       แต่ผู้เดียวจะเคี่ยวสงครามไป                  จะยากเย็นเป็นกระไรก็ตามที ”
               เป็นคนรักษาสัจจะ  รักษาเกียรติยศชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อได้ยกนางบุษบาให้จรกาไปแล้ว  เมื่อกะหมังกุหนิงมาสู่ขออีกจึงปฏิเสธ  ดังที่ว่า
                     “ อันอะหนะบุษบาบังอร           ครั้งก่อนจรกาตุนาหงัน
      ได้ปลดปลงลงใจให้มั่น                           นัดกันจะแต่งการวิวาห์
       ซึ่งจะรับของสู่ระตูนี้                               เห็นผิดประเพณีหนักหนา
        ฝูงคนทั้งแผ่นดินจะนินทา                     สิ่งของที่เอามาจงคืนไป ”
2.3.6 ท้าวกะหมังกุหนิง    ผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง  มีน้อง ๒ คน  คือ ระตูปาหยัง และระตูประหมัน และมีโอรสชื่อ วิหยาสะกำซึ่งเป็นโอรสที่พระองค์ และมเหสีรักดังแก้วตาดวงใจ เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงทราบว่าวิหยาสะกำคลั่งไคล้นางบุษบาธิดาของท้าวดาหา ซึ่งสิ่งที่เห็นเป็นเพียงรูปวาดเทานั้น พระองค์ก็แต่งทูตไปขอนางทันที ครั้นถูกปฏิเสธ ท้าวกะหมังกุหนิงจึงโกรธมาก และยกทัพไปตีกรุงดาหาเพื่อแย่งนางบุษบามาให้วิหยาสะกำ แม้น้องทั้งสองจะทัดทาน แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดโดยประกาศว่าจะยอมตายเพื่อลูก
2.3.7  วิหยาสะกำ   โอรสของท้างกะหมังกุหนิง ซึ่งเกิดจากประไหมสุหรี วิหยาสะกำมีฝีมือในการใช้ทวนเป็นอาวุธ และเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวมาก
ภาพที่ 2.5 สังคามาระตา  
2.3.8 สังคามาระตา  โอรสของระตูปรักมาหงัน  และเป็นน้องของมาหยารัศมี สังคามาระตาเป็นหนุ่มรูปงาม มีความเฉลียวฉลาด รอบคอบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เก่ง และกล้าหาญ ทั้งยังมีความซื่อสัตย์ และชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาได้หลายครั้ง

2.3.9 สุหรานากง    โอรสของท้าวสิงหัดส่าหรีที่เกิดจากประไหมสุหรี พระบิดาได้สู่ขอสะการะหนึ่งหรัด ธิดาท้าวกาหลังให้เป็นคู่ตุหนาหงันตั้งแต่เด็ก สุหรานากงปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดาและพระมารดาอยู่เสมอ มีความกล้าหาญ และวางตนได้ย่างเหมาะสม
2.3.10 ระตูหมันหยา โอรสของท้าวมังกัน พระบิดาได้ขอตุหนาหงัน ระเด่นจินดาส่าหรี ธิดาองค์สุดท้ายของระตูหมันหยาซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้ว  เมื่อแต่งงานกัน พระมารดาของระเด่นจินดาส่าหรีได้อภิเษกให้ครองเมืองหมันหยา โดยให้ระเด่นจินดาส่าหรีเป็นประไหมสุหรี ระตูหมัยหยาและประไหมสุหรีจินดา มีธิดาเพียงองค์เดียว คือจินตะหราวาตี ระตูหมันหยามีจิตใจอ่อนแอ ไม่มีความเป็นนักสู้
2.3.11 ประสันตา   เป็นพี่เลี้ยงหนึ่งในสี่ของอิเหนา ซึ่งท้าวกุเรปันเลือกแต่ครั้งอิเหนาประสูติใหม่ๆ บิดาของประสันตาเป็นเสนาบดีตำแหน่งยาสา(ฝ่ายตุลาการ)  ของกุเรปัน ประสันตามีนิสัยตลก คะนอง  ปากกล้า  เจ้าอารมณ์ ชอบพูดเย้าแย่เสียดสีผู้อื่นอยู่เสมอ และยังเจ้าเล่ห์อีกด้วย
2.3.12 ท้าวกาหลัง  เป็นกษัตริย์ผู้ครองกรุงกาหลัง เป็นน้องของท้าวกุเรปันและท้าวดาหามีมเหสี ๕ องค์ ครบตำแหน่งตามประเพณีประเพณีของวงศ์อสัญแดหวา พระองค์มีธิดาที่เกิดจากประไหมสุหรี หนึ่งองค์ คือ ระเด่นสะการะหนึ่งหรัด และมีธิดากับลิกูอีกหนึ่งองค์ คือ บุษบารากา ท้าวกาหลังทรงมีจิตใจเมตตากรุณากับทุกคน เช่น ทรงยอมรับคนแปลกหน้าที่เพิ่งจะพบกันครั้งแรก คือ ปันหยี,อุณากรรณ และย่าหรัน ไว้เป็นโอรสบุญธรรมให้การเลี้ยงดูอย่างดี ทั้งที่ไม่ทรงทราบว่าเป็นหลานแท้ๆ ของพระองค์เอง
               2.3.13 ท้าวสิงหัดส่าหรี เป็นกษัตริย์ผู้ครองกรุงสิงหัดส่าหรี เป็นน้ององค์สุดท้องของท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา และท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรีมีโอรสและธิดากับประไหมสุหรี รวมสองพระองค์คือ สุหรานากง กับ จินดาส่าหรี สำหรับสุหรานากงนั้น พระองค์ได้ขอสะการะหนึ่งรัด ธิดาของท้าวกาหลังให้เป็นคู่ตุนาหงัน ส่วนจินดาส่าหรี เมื่อเติบโตเป็นสาว ท้าวกุเรปันได้สู่ขอให้แต่งงานกับระตูจรกา แทนบุษบาที่ถูกอิเหนาลักพาตัวไป ท้าวสิงหัดส่าหรี ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา ตราบจนเข้าสู่วัยชรา จึงให้สุหรานากง เป็นกษัตริย์ ครองกรุงสิงหัดส่าหรีแทน